เมนู

อธิบายว่าด้วยวิญญาณ 5 เป็นต้น



บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยวิญญาณ 5 และทวารวิญญาณ 5 ต่อไป.

ชื่อว่าวิญญาณ 5 คือ



1. จักขุวิญญาณ
2. โสตวิญญาณ
3. ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ

ชื่อว่าทวารวิญญาณ 5 คือ



1. ทวารแห่งจักขุวิญญาณ
2. ทวารแห่งโสตวิญญาณ
3. ทวารแห่งฆานวิญญาณ
4. ทวารแห่งชิวหาวิญญาณ
5. ทวารแห่งกายวิญญาณ
เจตนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งทวาร 5 เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
ไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนทวารเท่านั้น. แต่ชื่อว่า สัมผัส
เหล่านั้นมี 6 คือ จักขุสัมผัส โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า ทวาร
แห่งสัมผัส
เหล่านี้มี 6 คือ ทวารแห่งจักขุ สัมผัส ทวารแห่งโสต ฆาน ชิวหา
กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า อสังวร 8 เหล่านั้น คือ จักขุอสังวร โสต ฆาน ชิวหา
อสังวร ปสาทกายอสังวร โจปนกายอสังวร วาจาสังวร มโนอสังวร.
อสังวร 8 เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม 5 เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ทุศีล

(ทุสฺสีลยํ) ความเป็นผู้หลงลืมสติ (มุฏฺฐสสจฺจํ) ความไม่รู้ (อญฺญาณํ)
ความไม่อดทน (อกฺขนฺติ) ความเกียจคร้าน (โกสชฺชํ) บรรดาธรรม
5 เหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิต
เป็นที่สุดในปัญจทวาร แต่ย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น ธรรมนั้นแม้
เกิดขึ้นในชวนจิต ท่านเรียกว่า อสังวร (ความไม่สำรวม ) ในทวาร 5.
จริงอยู่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัส เจตนา
ชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้น ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ในจักขุวิญญาณนี้
อสังวร 5 อย่างยังไม่มี. ผัสสะที่เกิดพร้อมกับสัมปฏิกิจฉันนจิต ชื่อว่า
มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม
ในสัมปฏิจฉันนจิตแม้นี้ อสังวรก็ยังไม่มี. แม้ในสันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิต
ก็มีนัยนี้แหละ. แต่ว่าผัสสะที่เกิดพร้อมกับชวนจิตชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนา
ชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สำรวมใน
ชวนจิตนั้น ชื่อว่า จักขุอสังวร (ความไม่สำรวมทางจักษุ). แม้ในโสต-
ฆานชิวหาปสาทกายทวาร ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ในกาลใด ชวนจิตทางมโนทวารมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูป
เป็นต้นเป็นอารมณ์ เว้นวจีทวาร ย่อมเกิดขึ้นยังความไหวกายทวารล้วนให้
เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส
เจตนาชื่อว่า กายกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริก ไม่ถึงการนับว่าเป็น
มโนทวาร เพราะความไหวเกิดแล้ว ก็ความไม่สำรวมในชวนะนี้ ชื่อว่า
ความไม่สำรวมทางกาย (กายอสังวร).
ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นนั่นแหละ จากกายทวาร เกิดขึ้นยังการ
ไหววจีทวารล้วน ๆ ให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น

ชื่อว่า มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่าวจีกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริกไม่ถึง
การนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดขึ้นแล้ว ความไม่สำรวมใน
ชวนจิตนี้ ชื่อว่า ความไม่สำรวมทางวาจา (วาจาอสังวร).
แต่ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นเว้นจากกายทวารและวจีทวาร เป็น
มโนทวารล้วน ๆ เกิดขึ้น ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่า
มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรม ความไม่
สำรวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่า ความไม่สำรวมทางใจ (มโนอสังวร).
บัณฑิตพึงทราบทวารแห่งอสังวร 8 เหล่านี้ คือ ทวารแห่งอสังวร
ทางจักษุ ทวารแห่งอสังวรทางโสต ฆาน ชิวหา ปสาทกาย โจปนกาย
วาจา มโน ด้วยอำนาจแห่งอสังวร 8 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนชื่อว่า สังวร 8 เหล่านี้ คือ จักขุสังวร (สำรวมทางตา)
โสตสังวร ฆานสังวร ชิวหาสังวร ปสาทกายสังวร โจปนกายสังวร วาจา
สังวร มโนสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น ว่าโดยอรรถ ได้แก่ธรรม 5 เหล่านี้
คือ ศีล สติ ญาณ ขันติ วิริยะ ในบรรดาธรรมทั้ง 5 แม้เหล่านั้น
แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดในจิตทั้งหลาย มีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดใน
ปัญจทวาร ธรรมนั้นย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น แม้เกิดในชวนจิต
ท่านก็เรียกว่า สังวรในปัญจทวาร.
บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้นแม้ทั้งหมด โดยนัยที่กล่าว
แล้วในอสังวรซึ่งมีคำว่า จกฺขุวิญฺญาณสหชาโต หิ ผสฺโส จกฺขุสมฺผสฺโส
(จริงอยู่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัส ) เป็นต้น
ด้วยสามารถแห่งสังวร 8 เหล่านี้อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบสังวรทวาร (ทวาร
แห่งสังวร) 8 เหล่านั้น คือ ทวารแห่งสังวรทางจักษุ ฯสฯ ทวารแห่งสังวร
ทางมโนตามที่กล่าวแล้ว.

กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ



ก็ชื่อว่าอกุศลกรรมบถเหล่านี้มี 10 คือ
ปาณาติบาต
อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร
มุสาวาท
ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา
สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฏฐิ.
บรรดาอกุศลกรรมบถเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า
ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การทำลายชีวิต คือการฆ่าสัตว์. ก็ในคำว่า
ปาณาติบาตนี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์ 2 อย่าง
วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์นั้น ว่ามีชีวิต เป็นไป
ทางทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวารที่ตั้งขึ้นด้วยความพยาบาท
เข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์
เดรัจฉานเป็นต้นที่ไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะสัตว์เล็ก
ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะร่างกายใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ
มีความพยาบาทมาก. แม้จะมีความพยายามเสมอกันก็มีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่